พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ต่อลังกา ยุกต์ต้น ครับ
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พระเครื่องภูธนรินทร ฯ พระเครื่องสะท้านแผ่นดิน | |||||||||||||||
โดย
|
Putanarinton | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อผง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ต่อลังกา ยุกต์ต้น ครับ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระสมเด็จวัดระฆัง ยุกต์ต้น(พิมพ์ต่อลังกา) พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) .นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป บรรพชาและอุปสมบท เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มี สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร เป็น พระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี ต่อมา พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ บันทึกหลวงปู่ดำ วัดอัมรินทร์ ( องค์ทางด้านซ้ายของสมเด็จท่าน) รูปด้านบน หลวงปู่ดำ เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมรินทร์ หลวงปู่โตเรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยหลวงปู่โต ทำพระสมเด็จอยู่เสมอ เมื่อหลวงปู่โตมรณภาพแล้ว หลวงปู่ดำจึงรวบรวมพิมพ์พระต่างๆ ของหลวงปู่โต แล้วทำการบันทึกย่อสั้น ๆ ไว้ ข้อนี้เป็นนิสัยของคนโบราณ หรือคนสมัยใหม่ก็ตามที่ไม่ใช่นักเขียน จะให้เขียนอะไรยาว ๆ แบบบรรยายก็เขียนไม่เป็น จึงบันทึกย่อไว้ เพียงแค่นี้ก็นับว่าเป็นหลักฐานอันสูงค่าแล้ว บันทึกย่อนี้มีใจความว่า “พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒” ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า “แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อปู่คำได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้” อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำต่ออีกว่า “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์ เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่ นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาด ทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโยป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว.” ( สมเด็จพิมพ์ไกเซอ ) จริยาวัตร ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าวเจ้าอยู่หัว จะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน สมณศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหา ปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ ในรัชสมัย ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์โปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม "พระเทพกวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี พ.ศ. 2407 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต ปัจฉิมวัย ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอิทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า “มหาโต” เพราะเลื่อมใสในความเปรื่องปราดของท่าน แต่ขณะเดียวกัน ก็มีผู้เรียกว่า “ขรัวโต” เพราะท่านมักชอบทำอะไรแปลกๆนั่นเอง สมเด็จโตหลีกเลี่ยงการสอบเปรียญ และรับสมณศักดิ์มาหลายรัชสมัย ประกาศจับ "มหาโต" จนมาถึงปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ประกาศหาพระมหาโต มีพระบรมราชโองการ ให้เจ้าเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันออก ฝ่ายตะวันตก ทั่วราชอาณาจักรจับพระมหาโต ส่งมายังเมืองหลวงให้ได้ พร้อมทั้งให้เจ้าคณะเหนือ กลาง ใต้ ตก ออก ค้นหามหาโต พระที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายมหาโตถูกจับส่งเข้าเมืองหลวง จนกระทั่งข่าวจับพระมหาโต ดังถึงหูชาวบ้านชาวป่าต่างรู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินสั่งให้จับมหาโต มหาโตกบดานอยู่ในดงพญาไฟนานถึง ๑๕ ปี ถึงกับอุทานขึ้นมาว่า “กูหนีมา ๒๕ ปี ทำไม เพิ่งมาประกาศจับ” ถามไปถามมาจึงรู้ว่าเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว มหาโตก็ไปโผล่ที่บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ให้ตำรวจหลวงนำท่านเข้าบางกอก และ ได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๔ ณ พระที่นั่งอัมรินทร์ฯ ท่ามกลางขุนนาง ข้าราชการ ครั้นรัชกาลที่ ๔ เห็นมหาโตมีพระราชดำรัสว่า “เป็นสมัยของฉันปกครองแผ่นดินแล้ว ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน” คราวหนึ่งโปรดเกล้าฯให้ท่านแปลพระปริยัติธรรมถวายในที่รโหฐานแห่งหนึ่ง ท่านแปลถวายได้ ตามพระราชประสงค์ จึงมีพระราชดำริว่า ความรู้ของท่านนั้นถึงชั้นเปรียญเอก จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานพัดยศ เปรียญ ๙ ประโยค แต่ท่านก็ทูลถวายพระพรอีกเช่นเคย อย่างไรก็ตาม พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแต่งตั้งให้พระมหาโต พรหมรังสี ถวายสัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมกิตติ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ตาลปัตรแฉกหักทอง ด้ามงา มีฐานานุกรม ๓ องค์ มี นิตยภัตเดือนละ ๔ ตำลึง ๑ บาท ทั้งค่าข้าวสาร เมื่อปี ชวด จุลศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๒๓๙๕) จนได้ เมื่อเสร็จพระราชพิธีการแต่งตั้งแล้ว ท่านก็ออกจากพระบรมมหาราชวัง (ปฏิเสธขบวนเสลี่ยงมีคนหาม มีเรื่องเล่าว่า ท่านว่าถ้าเป็นสมภารแล้วเดินเองไม่ได้ ก็ไม่เอา ถ้าไม่ยอมท่านก็จะไม่รับ) ท่านถือบาตร ผ้าไตร และบริขาร แบกพัดไปเองถึงบางขุนพรหมและบางลำพู บอกลาพวกสัปปุรุษที่เคยนับถือ มีเสมียนตราด้วง และพระยาโหราธิบดีเก่าและผู้อื่นอีกมาก แล้วท่านก็กลับมาวัดมหาธาตุ ลาพระสงฆ์ทั้งปวง ลงเรือกราบสีที่ได้รับพระราชทานมาแต่พระพุทธเลิศหล้าฯ ข้ามไปกับเด็กช้างผู้เป็นหลาน ผู้ครอบครอง พ.ต.อ. ธนภัทร ดอกดวง สมภารวัดระฆังฯ ท่านหอบเครื่องไทยธรรม ถือพัดยศและย่ามมาเอง ใครจะรับก็ไม่ยอมส่งให้ เที่ยวเดินไปรอบๆ และร้องบอกดังๆว่า “เจ้าชีวิต ทรงตั้งฉันเป็นที่พระธรรมกิตติ มาเฝ้าวัดระฆังฯ วันนี้จ้ะ เปิดประตูโบสถ์รับฉันเถอะจ้ะ ฉันจะต้องเข้าจำวัดเฝ้าโบสถ์ จะเฝ้าวัดตามพระราชโองการรับสั่งจ้ะ” ท่านแบกตาลปัตรพัดแฉก สะพายถุงย่ามสัญญาบัติไปเก้ๆกังๆ มือหนึ่งถือกาน้ำ และกล้วยหวีหนึ่ง พะรุงพะรัง พวกพระนึกขบขันจะช่วยท่านถือ เจ้าคุณธรรมกิตติก็ไม่ยอม พระเลยสนุกตามมุงดูกันแน่น แห่กันเป็นพรวนเข้าไปแน่นในโบสถ์ บางองค์ก็จัดโน่นทำนี่ ต้มน้ำบ้าง ตักน้ำถวายบ้าง ตะบันหมากบ้าง กิตติศัพท์เกรียวกราวตลอดกรุง คนนั้นก็มาเยี่ยม คนนั้นก็มาดูเลื่อมใสในจรรยาบ้าง เลื่อมใสในยศศักดิ์บ้าง แต่ท่านก็ขึ้นกุฏิไปเงียบๆ ไม่ได้มีการประชุมพระลูกวัดชี้แจงนโยบายอะไร ครั้งนั้นมีเรื่องเล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปุจฉาเชิงสัพยอกเจ้าพระคุณสมเด็จฯว่า “เหตุใดขรัวโตจึงพยายามหนีการแต่งตั้งในรัชกาลที่สาม ต่อทีนี้ทำไมจึงยอมรับ ไม่หนีอีกเล่า?” เจ้าพระคุณสมเด็จฯถวายพระพรว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ มิได้ทรงเป็นเจ้าฟ้า ทรงเป็นแต่เจ้าแผ่นดิน อาตมภาพจึงหนีพ้นเสียได้ ส่วนมหาบพิธพระราชสมภารเจ้า ทรงเป็น ทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ไฉนอาตมภาพจะหนีพ้นได้เล่า” พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระสรวลในปฏิภาณของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อท่านอยู่ที่วัดระฆังนั้น ท่านทำขบขันมากดูสนุกเป็นมหรสพโรงใหญ่ทีเดียว บางคนชอบหวยก็ เอาไปแทงหวย ขลังเข้าทุกๆวัน คนก็ยิ่งเอาไปแทงหวยถูกกันมากรายยิ่งขึ้น เลยไม่ขาดคนไปมาหาสู่ บางคนก็ว่าท่านบ้า บางคนก็ตอบว่า “เมื่อขรัวโตบ้า พากันนิยมชมว่าขรัวโตเป็นคนดี ยามนี้ขรัวโตเป็นคนดี พูดกันบ่นอู้อี้ว่าขรัวโตบ้า” สมเด็จเข็นเรือ ครั้งหนึ่ง ขณะที่สมเด็จโตกำลังจะไปธุระ บังเอิญเรือติดหล่มต้องเข็นเรือกัน สมเด็จโตได้เอา พัดยศวางไว้ในเรือ แล้วรีบมาช่วยลูกศิษย์เข็นเรือ ชาวบ้านแถบนั้นแลเห็นเข้าหัวเราะชอบใจขบขัน พูดตะโกนเสมือนหนึ่งล้อเลียนท่านว่า "ดูท่านสมเด็จ...เข็นเรือ! " สมเด็จโตว่า "สมเด็จเขาไม่ได้เข็นเรือหรอกจ้ะ สมเด็จท่านอยู่บนเรือ" แล้วท่านสมเด็จโตก็ชี้มือไปที่พัดยศในเรือชาวบ้านต่างได้ยินได้ฟังแลเห็นเช่นนั้น ก็เงียบ บางวันเขานิมนต์ไปเทศน์ เมื่อจบท่านบอกว่า “เอวัง พังกุ้ย” บ้าง บางวันก็บอกว่า “เอวัง กังสือ” บางวันก็บอกว่า “เอวัง หุนหัน” เล่ากันต่อๆมาว่าท่านเทศน์ไม่เว้นแต่ละวัน ทรงติดกัณฑ์เทศน์สลึงเฟื้อง เมื่อพรรษายุกาลมากขึ้น ท่านยิ่งแตกฉานในสรรพวิชากาล สามารถเทศน์ให้ผู้ฟังหัวเราะก็ได้ เทกระเป๋าทำบุญก็ได้ ดังจะเห็นได้จากครั้งหนึ่ง ขณะยังเป็นพระเทพกวี ท่านเจ้าคุณเทศน์คู่กับ พระพิมลธรรม (ถึก) วัดพระเชตุพนฯ เสมอมา การเทศน์ของท่านเผ็ดร้อนถึงอกถึงใจคนฟัง จนความทราบถึงพระกรรณสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงนิมนต์เจ้าคุณทั้งสองเข้าไปเทศน์ใน พระบรมมหาราชวัง พระราชทานเงินติดกัณฑ์เทศน์สลึงเฟื้อง พระกวีเทพไหวทัน หันมาบอกพระพิมลธรรมว่า "เจ้าถึกจ๋าเจ้าถึก เจ้าถึกรู้หรือยัง" พระพิมลธรรมถามว่า "จะให้รู้อะไรหนา" "อ้าวท่านเจ้าถึกยังไม่รู้ตัว โง่จริงๆ แฮะ" ท่านเจ้าถึกถามรุกใหญ่ว่า "จะให้รู้อะไรอีกนอกคอกเปล่าๆ" พระเทพกวีว่า "จะนอกคอกทำไม เรามาเทศน์กันวันนี้ ในวังไม่ใช่หรือ" ท่านรับว่า "ในวังน่ะซี" "ก็ในวัง ในคอก ในกำแพงด้วยซ้ำ รู้ไหมล่ะ" "รู้อะไรนะ?" "จงรู้เถิด จะบอกให้ว่า ท่านเจ้าถึกนั้นหัวล้านมีศรี ฝ่ายพระเทพกวีนั้นหัวเหลือง สมเด็จพระบรมบพิตร จึงทรงติดให้สลึงเฟื้องรู้ไหม?" พอหมดคำ ก็ฮาครืนบนพระที่นั่ง สมเด็จพระจอมเกล้าฯ เลยพระราชทานรางวัลองค์ละ ๑๐ บาท “พ่อจงเอาเงินนี้มาแบ่ง จงจัดแจงให้เข้าใจ พ่อถึกหัวล้าน พ่อโตหัวเหลือง เป็นหัวละเฟื้องสองไพฯ”ปรากฏได้อีกฮาใหญ่ ผลก็คือได้เงินพระราชทานติดกัณฑ์เทศน์ องค์ละ ๑๐ บาท คราวนี้เจ้าจอมคิกคักกันแซ่ คุณเฒ่าคุณแก่ยิงเหงือกยิงฟันอ้าปากกันหวอไปหมด สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระสรวลแล้วมีรับสั่งให้ถวายพระธรรมเทศนา ปุจฉาวิสัชนาสืบไปจนจบ กล่าวขานกันว่าท่านเข้าวังทีใด อะไรมิอะไรก็ขยายให้เป็นที่พอพระราชหฤทัย และได้รับรางวัลทุกครั้ง แต่เมื่อท่านพ้นประตูวังว่าแล้วมักไม่ใคร่มีเงินเหลือในย่าม เพราะมหาดเล็กในวังต่างล้วงย่ามของท่าน เอาเงินไปหมด กลับถึงวัดระฆังฯ เหลือเงินอย่างมากที่สุดก็ ๑๘ สตางค์ ท่านเจ้าคุณเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมีจรรยาอาการประพฤติอ่อนน้อม ท่านมีความประพฤติผิดจากชาว บ้านทั่วไป ไม่ว่าพระสงฆ์หรือเณรแบกคัมภีร์เรียนมา ถ้าท่านเจ้าคุณพบเข้า แม้จะเป็นกลางถนน ท่านเป็นต้องหมอบก้มลงกราบ ถ้าพระเณรไม่ทันพิจารณา สำคัญว่าท่านเจ้าคุณก้มลงเคารพตนและ ก้มเคารพตอบท่านเมื่อไร เมื่อนั้นต่างคนต่างหมอบแต้เคารพอยู่ที่นั่น สร้างความครึกครื้นแก่ผู้พบเห็นเสมอๆ จุดไต้เข้าวัง ในช่วงที่สมเด็จโตมีชีวิตอยู่ บ่อยครั้งที่ท่านได้สำแดงปริศนาธรรม เมื่อยามที่ท่านเห็นว่าบ้านเมือง มีอะไรที่ไม่ถูกต้อง ครั้งหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จ จุดไต้ลูกใหญ่ลุกโพลงเดินเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง ในตอนกลางวันแสกๆ ตะวันตรงหัวทีเดียว ร.๔ ทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น ก็ตรัสว่า “ขรัวโต ๆ ในหลวงรู้แล้วละว่าจะบอกอะไรในหลวง” เจ้าประคุณสมเด็จก็ไม่ปริปากพูดอะไรสักคำ เอาไต้ลูกนั้นทิ่มกับกำแพงวังแล้วเดินกลับออกมาเฉยๆ ข้อนี้เล่าว่า ในช่วงนั้น ร. ๔ ทรงหมกมุ่นกับเจ้าจอมหม่อมห้ามและการละเม็งละครหนักข้อไปหน่อย สมเด็จท่านจะถวายพระพรเตือนตรง ๆ ก็เกรงพระราชหฤทัย จึงแสร้งจุดไต้เข้าไปทูลเตือนในฐานะนัก ปราชญ์ด้วยกัน ร.๔ จึงรีบตรัสว่า “รู้แล้วๆ” อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จโตเข้าเฝ้าถวายพระธรรมเทศนา ในวัง เมื่อสมเด็จโตท่านมาถึง นั่งธรรมมาสก์เสร็จ ก็เอ่ยว่า..."ดี พระมหาบพิธก็รู้ ชั่ว พระมหาบพิธก็รู้ เพราะฉะนั้น วันนี้อากาศแจ่มใสดี เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้" ติดบ่วงแทนนก นอกจากนี้ ท่านยังแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายทั่วกัน ไม่จำกัดขอบเขตว่า จะเป็นสัตว์ชนิดใด เมื่อพบสัตว์ประสบทุกข์ต้องภัยพิบัติ ท่านก็ช่วยเหลือแก้ไขด้วยการุณยจิต มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปต่างจังหวัด ระหว่างทางได้มองเห็นนกตัวหนึ่งติดแร้วอยู่ กำลังดิ้นรนเพื่อจะเอาชีวิตให้รอดไป แต่ก็ไม่สามารถหลุดไปจากแร้วได้ ท่านจึงแก้บ่วงแร้ว ปล่อยนกนั้นไป แล้วท่านก็เอาเท้าของท่านสอดเข้าไปใน บ่วงนั้น นั่งทำทีเป็นติดแร้วไปไม่ได้ เมื่อคนเดินผ่านมาพบ ก็เข้าไปจะช่วยแกะเชือกแก้บ่วงออก ท่านไม่ยอมให้แก้บอกให้ไปตามเจ้าของแร้วมาก่อน เมื่อเจ้าของแร้วมา ท่านก็บอกความจริงว่า นกติดแร้วแต่ท่านช่วยปล่อยนกนั้นไป จึงขอติดแร้วแทนนก เจ้าของแร้วบอกท่านว่า ไม่เป็นไร อนุญาต ยินยอมให้ท่านปล่อยนกนั้นได้ โดยไม่ติดใจโกรธแต่อย่างใด ท่านจึงแก้บ่วงจากเท้า แล้วบอกให้เจ้าของแร้วกรวดน้ำ ท่านยถาสัพพี เสร็จแล้วท่านจึง ออกเดินทางต่อไป สมเด็จพุฒาจารย์องค์ที่ ๕ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๑๖ (พ.ศ.๒๓๙๗) พระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ผู้ใหญ่ที่พระเทพกวี จนเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(สน) วัดสระเกศถึงมรณภาพ จึงได้ทรงสถาปนาท่าน ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำปีชวด จุลศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๗ นับเป็นสมเด็จพุฒาจารย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมณศักดิ์นี้เดิมใช้คำว่า “สมเด็จพระพุทธาจารย์” คู่กับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เพิ่งจะเปลี่ยนมาใช้ “สมเด็จพระพุฒาจารย์”ในสมัยรัชกาลที่ ๔) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้น มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ ปี ๑๐ วันเท่านั้น ยังทรงพระเยาว์นัก จึงต้องมี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครมหาเสนาบดี ผู้ใหญ่ในขณะนั้น เป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดินวันหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จก็จุดไต้ลูกใหญ่เข้าไปหาสมเด็จเจ้าพระยาในจวนของท่าน ยามกลางวันแสกๆ อีกเช่นเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยาจึงถามว่า มีประสงค์อันใดหรือ จึงถือไต้เข้ามาหา กระผมเช่นนี้ เจ้าประคุณสมเด็จตอบไม่อ้อมค้อมเลยว่า “อาตมภาพได้ยินว่า ทุกวันนี้แผ่นดินมืดมัวนักด้วยมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบว่าเท็จจริงจะเป็น ประการใด ถ้าเป็นความจริงแล้วไซร้ อาตมภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเขาเสียสักครั้งหนึ่งเถิด” สมเด็จเจ้าพระยา อึ้งไปนิดหนึ่งก่อนจะตอบว่า “ขอพระคุณเจ้าอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่ฉะนี้ จะไม่ให้แผ่นดินนั้นมืดมัวหล่นลงไป ด้วยจะไม่มีผู้ใดแย่งแผ่นดินไปได้เป็นอันขาด” ท่านเจ้าประคุณสมเด็จบอกว่า เพื่อความสบายใจ ให้สมเด็จเจ้าพระยาไปสาบานตัวต่อพระแก้วมรกต ในวัดพระแก้ว ภายหลังต่อมาท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นข้าราชการผู้หนึ่ง ที่จงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ และมีส่วนผลักดันให้การบริหารราชการแผ่นดินก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ปริศนาธรรมจากพระสมเด็จ สำหรับพระสมเด็จที่ท่านสร้างขึ้นนั้น มีนัยยะแห่งรูปลักษณะที่ลึกซึ้งดังนี้ ๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึง พื้นแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจอยู่ ๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึง อวิชชาที่คลุมพิภพอยู่ ๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึง พระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้พบอริยสัจ ๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึง พระพุทธเจ้าปางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก ๖. ฐาน ๗ ชั้น หมายถึง อปริหานิยธรรม ๗. ฐาน ๙ ชั้น หมายถึง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ พุทธศิลป์ที่ท่านสร้าง พระพิมพ์ใหญ่ทรงประธาน เลียนพุทธศิลปะสมัยสุโขทัย ทรงเจดีย์ เลียนพุทธศิลปะ สมัยเชียงแสน ทรงหูยาน อกร่อง เลียนพุทธศิลปะสมัยอู่ทอง ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงถามท่าน ถึงเหตุที่ล่ำลือกันมากว่าพระพิมพ์ของท่านศักดิ์สิทธิ์ ท่านถวายพระพรว่าเพราะท่านบริกรรมด้วย “ชินปญฺชรคาถา”หรือพระคาถาชินบัญชรนั้นเอง หลังมรณภาพ ตัวอย่างคำเทศนาของเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิต หลังจากที่ล่วงลับไปแล้วเมื่อ100 กว่าปี ความว่า "ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ เจดีย์ ( แม่พิมพ์หลวงวิจารย์ ) พระอาจารย์ ของ สมเด็จโต พระอาจารย์สุก หรือ พระญาณสังวรเถระ หรือ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของราชวงศ์จักรีนี้ นับว่าเป็นผู้หนึ่ง ที่ยืนดูการกระทำอันโหดร้ายของพม่าเมื่อคราวกรุงแตกมาแล้ว เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้อาราธนาลงมาอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ก็เห็นจะเป็นด้วย พระองค์ประสูติ เมื่อ พ.ศ. 2279 ในรัชกาล พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์เช่นกันนับแต่พระองค์ได้รับราชการเมื่อปลายสมัยอยุธยาจนกรุงแตกแล้วนั้น ก็ได้ทราบ ถึงเกียรติคุณของ พระอาจารย์สุก มาบ้างแล้ว จึงได้อาราธนาท่านลงมาอยู่ที่วัดพลับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2325 สมเด็จพระสังฆราช ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2363 ตรงกับวัน พฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำปีมะโรง และได้ย้ายจากวัดพลับมาอยู่ที่วัดมหาธาตุได้เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ ณ วัดมหาธาตุ พระนคร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 4 ค่ำ ปีมะเมีย ในรัชกาลของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงนับว่า เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์เดียว ที่ได้เห็นเหตุการณ์พม่าเผากรุงศรีอยุธยาและผนวชอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่ สมัยอยุธยา, สมัยกรุงธนบุรี, จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์, รวมพระชนมายุได้ถึง 90 ปี พระญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ระหว่างอยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ปรากฏว่าได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดขึ้นไปจนถึง เจ้านายเชื้อพระวงศ์ ต่างก็พากันไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะบรรดาสานุศิษย์ เหล่านั้นต่างก็ได้เห็นกฤตยาคมอันขลังด้านเมตตาพรหมวิหารของท่าน ซึ่งสามารถเรียก ไก่เถื่อน จากป่าเป็นฝูง ๆ มากรับการโปรยทานจากท่านเต็มลานวัดทุก ๆ วันนั้นเอง เหตุนี้ชาวบ้านสมัยนั้นจึงพากันเรียกท่านว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน เพราะท่านสามารถเรียกไก่เถื่อนออกมาจากป่า ด้วยแรงอาคม และยิ่งได้ลิ้มรสอาหารเสกจากท่านด้วยแล้ว ไก่เถื่อนที่ว่าถึงกับไม่ยอมกลับเข้าป่า และเชื่องเป็นไก่บ้าน ขรัวตาแสง ผู้ย้นระยะทาง พระอาจารย์สมเด็จ โต ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยกว่าปีล่วงมาแล้ว จะหาพระภิกษุรูปใดที่จะเป็นที่รู้จักของมหาชนยิ่งไปกว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถราจารย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นไม่มี แต่จะหาผู้ที่รู้จักพระมหาเถรเจ้าอันเป็นที่เคารพนับถือ และเป็นบูรพาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของ พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) อันมีนามว่าหลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์ เมืองลพบุรี น้อยเต็มที่ และมีอีกเป็นจำนวน ไม่น้อยที่แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อของหลวงปู่แสงเลย ทั้งที่หลวงปู่แสง ขรัวตาแสง หรือพระครูมหิทธิเมธาจารย์ นี้ เป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากในยุคที่ท่านทรงสังขารอยู่ พระเกจิอาจารย์หลายรูปที่มีชื่อเสียงมาจนถึง ปัจจุบันนี้ ที่ได้เคยมานมัสการขอมอบตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ จากหลวงปู่แสงมีจำนวนมาก เป็นที่เลื่องลือขจรไปในหมู่ผู้แสวงหาความรู้ทางวิชาการทั้งสมถะ และวิปัสสนา คาถาอาคม ฯลฯ เป็นที่รู้จัก ไปจนถึงในรั้วในวัง เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่ประวัติขององค์หลวงปู่แสงหาได้ยากยิ่ง ทั้งที่มาและที่ไปของหลวงปู่ล้วนเป็น ปริศนาจวบจนปัจจุบัน เจดีย์หลวงพ่อแสงนี้ ( ท่านสร้างเพียงลำพังเมื่อแล้วเสร็จมีเรื่องเล่าว่าท่านกระโดดลงมาแล้วหายไป ) ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร เมื่อวัน ที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง คล้ายคลึงกับพระเจดีย์โบราณ ศิลปะสมัยเชียงแสน ส่วนของฐานเจดีย์มีขนาด ๑๕.๔๐ เมตร สูง ๕๐ เมตร ลักษณะของสถาปัตยกรรม เดิมทีเดียวก่อเรือนธาตุสูงลดหลั่นซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๓ ชั้น เรือนธาตุแต่ละทิศมีซุ้มโค้งสำหรับประดิษฐาน พระพุทธรูป ชั้นที่ ๔ ตอนบนเป็นองค์ระฆัง ส่วนยอดทำเป็นแท่นบัลลังก์ และปล้องไฉนขึ้นไป ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยความปรากฏในจดหมายเหตุ พ.ศ. ๒๓๙๗ ว่า “หนังสือเจ้าพระยาจักรีมา ถึงพระลพบุรี ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าวัดเกาะแก้วเมืองลพบุรี แต่ก่อนเคยเสด็จ พระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระ และประทับแรมอยู่บ้าง แต่พระอุโบสถ กุฏิศาลาการเปรียญ และศาลาท้องพรหมาสตร์ชำรุดยับเยินมาช้านาน โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใหม่ให้รุ่งเรืองสุกใส จะได้เป็นที่กราบไหว้ที่สักการบูชา” ประวัติวัดระฆังโฆสิตาราม วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกู้อิสรภาพของไทยกลับคืนมาได้ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้งพระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาค |
|||||||||||||||
ราคา
|
0000.- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0626977895 0932374336 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0932374336 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
8,120 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงไทย / 541-0-23402-2
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|